วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารสนเทศกับธนาคารไทยพาณิชย์






 


          ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรก ของไทย ก่อตั้งในปี 2449 ธนาคารมีขนาดของสินทรัพย์ เงินฝาก และสินเชื่อใหญ่เป็นอันดับ 4 ของระบบธนาคารพาณิชย์ ธนาคารจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันหุ้นของธนาคาร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย หุ้นสามัญ (SCB, SCB-F) หุ้นบุริมสิทธิ (SCB-P, SCB-Q)
          ธนาคารไทยพาณิชย์ ดำเนินงานภายใต้ปณิธานอันแน่วแน่ด้วยคุณภาพควบคู่คุณธรรม และด้วยวิสัยทัศน์อันก้าวไกลในการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมสู่ยุคเศรษฐกิจ และนโยบายการก้าวสู่ระดับมาตรฐานสากล โครงการไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า จึงถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการฯ ที่มีทั้งความสวยงามทันสมัยสมบูรณ์พร้อมด้วยเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2539 นับเป็นเวลาเกือบศตวรรษที่ผ่านมา ที่ธนาคารไทยพาณิชย์แห่งนี้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้ง "บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด" นับเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของคนไทยตราบจนปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ไม่ได้มุ่งเพียงการดำเนินธุรกิจในฐานะที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกเท่านั้น หากแต่ยังอุทิศตนเต็มความสามารถเพื่อสร้างความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าแก่ระบบการเงิน การธนาคาร
ธนาคารไทยพาณิชย์มีบริการทางด้านการเงินครบวงจรให้แก่ลูกค้าทุกประเภท ทั้งที่เป็น บริษัทขนาดใหญ่ วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกค้ารายย่อย ได้แก่ การรับฝากเงิน การโอนเงิน การให้กู้ยืมประเภทต่างๆ การรับซื้อลด การรับรองอาวัล ค้ำประกัน บริการด้านปริวรรตเงินตรา บริการด้านการค้าต่างประเทศ บริการ Cash Management บริการด้านธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น บริการจำหน่ายหุ้นกู้ บริการนายทะเบียนหุ้นกู้ การรับประกันการจัดจำหน่ายตราสารหนี้ นายทะเบียนหลักทรัพย์ บริการรับฝากทรัพย์สิน การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล บัตรเครดิตและการรับฝากทรัพย์สินผ่านทางสำนักงานใหญ่ และเครือข่ายสาขาของธนาคาร

  
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการให้บริการลูกค้าของธนาคาร 
1. ON-LINE  BANKING  คือ  การรับฝากเงิน ถอนเงิน รวมถึงการบันทึกรายการบัญชีทันที  ซึ่งอาศัยคู่สายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่าง Terminal  ของสำนักงานสาขากับศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนกลางของสำนักงานใหญ่กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า  Update tele-Processing  นั่นคือ  สำนักงานสาขาทำหน้าที่ป้อนข้อมูลทาง Terminal  ส่งข้อมูลมายังส่วนกลาง  เพื่อบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ คือการลงบัญชี  การคำนวณผลประโยชน์ (ดอกเบี้ย) จะกระทำที่ส่วนกลางเท่านั้น   สำนักงานสาขาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูล  และคอมพิวเตอร์ของส่วนกลางยังคงออกรายงานให้ทุกสาขาได้ในทุกลักษณะ  พนักงานสำนักงานสาขาเพียงรับสมุดและสลิปจากลูกค้า  ป้อนข้อมูลทาง  Terminal  ส่งข้อมูลไป  Process  ที่สำนักงานใหญ่  โดยคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่      
1.1  ตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามาว่าถูกต้องหรือไม่  ผิดพลาดตรงไหนบ้างหรือเปล่า หากเกิดความผิดพลาดระบบจะแจ้งออกมาให้ทราบ  ซึ่งอาจระงับการถอนเงิน  หรือยกเลิกรายการนั้นบางรายการ    
1.2  คอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไปตามรายการฝาก - ถอนที่ลูกค้าต้องการ  และจะปรับยอดรายการบัญชีนั้น โดยบันทึกลงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ส่วนกลาง     
 1.3  ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วจะถูกส่งกลับมาตามสายโทรศัพท์  เพื่อพิมพ์บนสมุดคู่ฝากของลูกค้า


2. ระบบเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic teller machine-ATM ) คือ เครื่องรับ - จ่ายเงินอัตโนมัติ เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ของคอมพิวเตอร์ของธนาคาร ซึ่งลูกค้าอาจใช้บริการบางอย่างกับธนาคารโดยการกดรหัสติดต่อกับธนาคารได้ เช่น ฝากหรือถอนเงินได้ อาจใช้บริการบางอย่างกับธนาคารโดยการกดรหัสติดต่อกับธนาคารได้



3. ระบบ Internet banking เป็นการบริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มความสะดวกและประหยัดเวลาให้แก่ลูกค้าในการทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามารับบริการที่ธนาคารโดยตรง และลูกค้าสามารถที่จะดำเนินการตามต้องการได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่

ระบบฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM)
 (Automatic Teller Machine : ATM) หรือระบบถอนเงิน - ฝากเงินของธนาคารแบบอัตโนมัติ  ซึ่งอำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ในอดีตเมื่อเริ่มมีการใช้ระบบเอทีเอ็ม เครื่องแรกของโลก หรือของประเทศไทย มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจอะไรเกิดขึ้น และขณะนั้นธุรกิจธนาคาร ให้ทางเลือกในการบริการกันอย่างไรบ้าง
พ.ศ.2520 ได้มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ซึ่งเป็นของธนาคารซิตี้ แบงค์ ในเมืองนิวยอร์ก เริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ แต่ในขณะเดียวกันธนาคารอื่น ๆ บนถนนสายเดียวกัน ให้บริการลูกค้า เฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น. หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการ ฝากถอนเงินแล้ว   เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคาร ในการให้บริการลูกค้าระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัว ดึงดูดลูกค้าให้มาเป็นลูกค้าของตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมา ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทัน และหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง




สาเหตุที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งาน
ในสภาวะธุรกิจธนาคารที่มีแนวโน้มการแข่งขันรุนแรงขึ้น  ธนาคารแต่ละแห่งจำเป็นต้องพัฒนาธุรกิจของตนเองให้ครบวงจรและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานของตนเอง  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จึงต้องตอบสนองการดำเนินงานทั้งด้านสนับสนุนการให้บริการลูกค้าและการบริหารภายในองค์กร  วิธีการเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในธนาคาร ควรดูจากประโยชน์ใช้สอย  และเพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า   เนื่องจากงานหลักของธนาคารคือการบริการด้านการเงินให้แก่ลูกค้า  จึงต้องเน้นการบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจ  ความพึงพอใจ  เพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการที่หลากหลายกับธนาคาร  และความพึงพอใจของลูกค้าสามารถแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของการบริการที่ได้รับจากธนาคารในเรื่องต่างๆ ด้วย






ธนาคารไทยพาณิชย์เลือกเทราดาต้าในการเป็นคลังจัดเก็บข้อมูลธุรกิจ
“เทราดาต้า” เป็นหนึ่งในแผนกของบริษัท เอ็นซีอาร์ คอร์ปอเรชั่น ล่าสุดได้ประกาศว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ให้บริการเครื่องเอทีเอ็มกว่า 3,000 เครื่องทั่วประเทศ ได้เลือกใช้ระบบการตัดสินใจ Teradata Warehouse เป็นระบบสำหรับโครงการจัดเก็บข้อมูลธุรกิจ (Enterprise Data Warehouse EDW) ขององค์กร
ระบบ EDW ได้มีการเปิดให้การบริการอย่างมืออาชีพของเทราดาต้า และได้มีการออกแบบให้ผสมผสานและสนับสนุนแอพพลิเคชั่นเชิงวิเคราะห์แบบซับซ้อนของข้อมูลจากทุกหน่วยธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ ทางธนาคารไทยพาณิชย์เห็นว่าการเงินในประเทศไทยนั้นจะมีโอกาสเติบโตสูง และเชื่อว่า ระบบ EDW ของเทราดาต้าจะช่วยกระตุ้นศักยภาพในกแข่งขันของธนาคารฯ และทำให้ตลาดธนาคารทั้งในประเทศและนอกประเทศมีระบบที่ดีขึ้นและใช้งานได้เป็นอย่างดี  ขั้นตอนแรกมุ่งเน้นไปที่การแยกกลุ่มและถ่ายโอนข้อมูลที่จัดเก็บในระบบ legacy ต่อจากนั้นธนาคารก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาผสมผสานกันภายในระบบปฏิบัติการกลาง “Teradata EDW”   ก่อนหน้าที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะมาใช้ระบบเทราดาต้าธนาคารได้ใช้คลังเก็บข้อมูลซึ่งทำงานบนระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ไอบีเอ็มพร้อมกับแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันหลายแหล่ง ธนาคารจะใช้การกระจายข้อมูลแบบ “hub-and-spode architecture” จะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของการบำรุงรักษาสูง
“โซลูชัน Teradata EDW  จะสนับสนุนฟังก็ชันที่หลากหลายเพิ่มขึ้น เช่น การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าส่วนบุคคล, การบริหารความเสี่ยงเชิงเครดิต , การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน จะทำให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในเชิงปฏิบัติการลงได้มากอีกด้วย
เทราดาต้า เป็นเทคโนโลยีระดับโลกด้านแอพพลิเคชั่นการวิเคราะห์ ระบบคลังข้อมูลขององค์กร และบริการคลังข้อมูลองค์กร ระบบเทราดาต้า ช่วยให้องค์กรสามารถมองภาพรวมของธุรกิจ เพื่อพัฒนาลูกค้าสัมพันธ์และการตัดสินใจทางธุรกิจและได้รับผลกำไรเป็นอย่างดี



          การสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้าเป็นกุญแจสำคัญสร้างความได้เปรียบเชิงลูกค้าสัมพันธ์บริษัท เทราดาต้า คอร์ปอเรชั่น (NYSE: TDC) ผู้นำระดับโลกด้านระบบคลังข้อมูลและเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลองค์กรที่เสริมความชาญฉลาดให้หลากหลายบริษัท เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management) ให้กับบริษัทในประเทศไทยด้วยซอฟต์แวร์ อีเวนท์ เบสด์ มาร์เก็ตติ้ง อีบีเอ็ม (Event-Based Marketing — EBM)

ที่มา    www.scb.co.th
            www.yupparaj.ac.th
www.bcoms.net
www.vcharkarn.com